บทที่ ๕
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยทูลเกล้าฯถวายหนังสือ ค้นคว้าทางโบราณคดีอินเดีย

เนื่องในโอกาสวันคล้ายวันพระราชสมภพของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ  สยามบรมราชกุมารี ในพุทธศักราช ๒๕๔๔ นี้ ด้วยเห็นว่าสมเด็จพระเทพ
รัตนราชสุดาฯ ทรงสนพระราชหฤทัยและทรงงานในด้านวัฒนธรรมอินเดียเป็น
เนืองนิจประกอบกับวัฒนธรรมอินเดียส่งผลอย่างสำคัญต่อวัฒนธรรมอื่นๆ ใน ภูมิภาคตะวันออกนี้ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้จัดหาหนังสือรายงานประจำปี ชุดสำคัญ คือ The Archaeological Survey of India : Annual Report เพื่อ ทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวาย รวมทั้งชุด ๒๙ เล่ม เนื่องจากหนังสือดังกล่าวมี เนื้อหาเพื่อการค้นคว้าที่มีคุณค่ายิ่งในวงวิชาการโบราณคดีเสมอมา เมื่อหนังสือ ชุดแรกที่จัดพิมพ์จำหน่ายหมดไปนานมากแล้ว รัฐบาลอินเดียเห็นความสำคัญจึง อนุญาตให้สำนัก พิมพ์ Messrs Swati Publication. กรุงเดลฮี จัดทำขึ้นใหม่ ทั้งชุด The Archaeological Survey of India : Annual Report. เป็นรายงานการ สำรวจขุดค้นและการอนุรักษ์โบราณสถานต่างๆ ในอินเดีย จัดทำโดย The Archaeological Survey of India. ซึ่งเป็นหน่วยงานของรัฐบาลอินเดีย เริ่มขึ้นเมื่อ ค.ศ.๑๙๐๒ และจัดทำต่อเนื่องกันมาจนถึง ค.ศ.๑๙๓๗ เนื่องมาจากแนวความคิดของ Mr.John Marshall ผู้อำนวยการใหญ่ของ The Archaeological Survey of India ที่พบว่าสมาชิกของ The Royal Asiatic Society มักส่งจดหมายขอให้ หน่วยงานจัดทำรายงานประจำปี เพื่อว่าสมาชิกจะได้รับทราบข้อมูลเกี่ยวกับด้าน โบราณคดีเป็นระยะโดยไม่จำเป็นต้องรอคอยรายงานฉบับสมบูรณ์ เขาจึงได้จัดทำรายงานดังกล่าวขึ้น

เนื้อหาของรายงานประจำปีแบ่งออกเป็น ๓ ส่วน คือ ส่วนที่ ๑ เป็น รายงานการอนุรักษ์โบราณสถานประกอบด้วยรายงานสั้นๆ เกี่ยวกับงานอนุรักษ์ แหล่งโบราณสถานต่างๆ ที่กำลังดำเนินงานอยู่ในช่วงนั้นทั่วอินเดีย และมี บทความพิเศษให้ข้อมูลรายละเอียดเฉพาะการดำเนินงานในสถานที่บางแห่ง ส่วนที่ ๒ เป็นรายงานการขุดค้นและการวิจัย ส่วนที่ ๓ เป็นรายงานเกี่ยวกับจารึก เนื้อหาในแต่ละส่วนจะมีภาพถ่าย ภาพวาด แผนภูมิ แผนที่ประกอบ ด้วยเหตุที่ รายงานดังกล่าวให้ข้อมูลทันต่อเหตุการณ์ในแต่ละปีเช่นนี้เอง หนังสือรายปีชุดนี้ จึงเป็นแหล่งค้นคว้าที่มีค่ายิ่งแก่นักวิชาการด้านวัฒนธรรมอินเดียทั่วโลก

( ที่มา : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, วารสารจามจุรี. 2544. )

คำศัพท์สามัญ

คำราชาศัพท์

   
 〔王族語〕 〔普通語〕
๑.ทรงสนพระราชหฤทัย御関心をもたれる。สนใจ
๒.ทรงงาน御仕事をなさる。ทำงาน

คำอธิบายไวยากรณ์

๑) ด้วยเห็นว่า ~の理由で。固い表現。เพราะคิดว่า...は、一般的。

文節1 + ด้วยเห็นว่า + 文節2(理由)

๒) เป็นเนื่องนิจ 常に。頻繁に。固い表現。

動詞 + 目的語 + เป็นเนืองนิจ

๓) ประกอบกับ そのほかに。接続詞。นอกจากนั้นよりは、固い表現。
引き続き、新たな情報・理由・説明を加える場合に使う。

文節1 + ประกอบกับ + 文節2(付け加える)

๔ ) ยิ่ง 非常に。書き言葉。普通はมาก。第一部第5課の๙) を参照。

形容詞 + ยิ่ง

๕) ...เสมอมา いつも頻繁に行なわれてきた。

動詞 + เสมอมา

๖) ทั้ง 全員そろって。集合名詞の中の個々のもの全て。

ทั้ง + 名詞(集合名詞)

๗) ต่างๆ いろいろな。

名詞 + ต่างๆ

๘) ต่อเนื่องกันมา 今まで継続してきた。動詞を修飾する副詞。

主語 + 動詞 + ต่อเนื่องกันมา

๙) มัก (จะ) ~する傾向がある。頻繁に、ある動作を行なう。

มักจะ + 動詞

๑๐) เพื่อว่า ~のために。เพื่อว่าを使うと、次の文は、จะได้が必要。

เพื่อว่า + 行為者(利益を受ける人)+ จะได้ + 動詞

๑๑) เป็นระยะ 定期的に(一定の期間をおいて何回も行なった)。

動詞 + เป็นระยะ

๑๒) ประกอบด้วย ~からなっている。書き言葉。話し言葉なら、 มีを使う。

名詞全体 + ประกอบด้วย  + 名詞部分

๑๓) ในช่วงนั้น その間に。ในระยะเวลานั้นと同じ。

๑๔) เฉพาะ ~だけ。数字の時はเฉพาะは使えない。เพียง は数字に使える。

動詞 + เฉพาะ + 名詞

名詞 + เฉพาะ + 名詞

๑๕) บาง ある~(人は)。一部の~。

名詞 + บาง + 類別詞

๑๖) แต่ละ ~ごとに。ทุกは、全部という意味で異なる。

名詞 + แต่ละ + 類別詞

๑๗) ด้วยเหตุที่ ... จึง ... ~の理由で。固い表現。接続詞。

ด้วยเหตุที่ + 文節1(原因) + 主語 + จึง + 動詞(結果)