บทที่ ๘
บทบาทของมหาวิทยาลัยในการส่งเสริมภาษาและวรรณคดีไทย

นิธิ เอี่ยวศรีวงศ์

คงจะเป็นที่เข้าใจกันได้ง่ายขึ้น หากจะเริ่มต้นด้วยการเสนอประเด็น บางอย่างซึ่งแม้ไม่เกี่ยวกับหัวข้อที่จะพูดถึงโดยตรง แต่ก็เป็นพื้นฐานความคิดในเรื่องที่จะเสนอนี้

๑. เช่นเดียวกับคนในองค์กรใหญ่อื่นๆ คนในมหาวิทยาลัยมักจะคิด ว่ามหาวิทยาลัยเป็นโลกทั้งหมด หรือมหาวิทยาลัยมีอำนาจที่จะทำให้โลก เปลี่ยนไปตามความต้องการได้มาก แต่ความจริงแล้วมหาวิทยาลัยก็มีบทบาทอยู่จำกัด ยิ่งในโลกที่กำลังเปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก ผิดแผกจากสภาพทาง เศรษฐกิจ - สังคมซึ่งมหาวิทยาลัยถือกำเนิดขึ้น อิทธิพลของมหาวิทยาลัยที่มีต่อ สังคมภายนอกอาจจะลดลงไปอีกก็ได้ บทบาทของมหาวิทยาลัยอาจถูกกำหนด โดยองค์กรอื่นนอกมหาวิทยาลัย ไม่ว่าจะเป็นรัฐหรือธุรกิจอุตสาหกรรมก็ตาม เพราะฉะนั้นบทบาทของมหาวิทยาลัยในสังคมปัจจุบันจึงมีจำกัดลง

ความสำนึกเช่นนี้ทำให้ต้องคำนึงถึงสภาพที่เป็นจริงในสังคมภายนอกให้มาก มหา วิทยาลัยไม่สามารถสถาปนาอุดมคติของตนไว้เป็นที่บูชาของคนอื่น นอกมหาวิทยาลัยได้อีกแล้ว แต่ในขณะเดียวกันมหาวิทยาลัยก็ไม่ควรตามกระแส ที่องค์กรอื่นเป็นผู้นำอย่างมืดบอด ถึงอย่างไรสังคมก็ยังต้องการอุดมคติที่เกิดจาก ความรู้และการคิดใคร่ครวญด้วยเหตุผล อันเป็นภารกิจและความสามารถที่คนใน มหาวิทยาลัยต้องทำและทำได้ ปัญหาจึงอยู่ที่เส้นพอดีๆ ระหว่างกระแสสังคม และมาตรฐานตามอุดมคติว่าวางอยู่ตรงไหน ทำอย่างไรจึงจะให้อุดมคตินั้นๆ เป็นสิ่งที่ปฏิบัติได้จริงในสังคมวงกว้าง

มาตรฐานทางภาษาและวรรณคดีก็เช่นเดียวกัน มหาวิทยาลัยจะมี บทบาทในด้านนี้ได้อย่างสร้างสรรค์และมีประสิทธิภาพก็ต่อเมื่อ มหาวิทยาลัย เข้าใจสภาพที่เป็นจริงในทางเศรษฐกิจและสังคม ซึ่งเกิดกับการใช้ภาษาและ วรรณคดีในโลกภายนอก มหาวิทยาลัยต้องสร้างมาตรฐานอันเป็นอุดมคติที่เกิด จากความรู้และความคิดในเชิงวิชาการ แต่ก็มีสำนึกอย่างชัดเจนถึงสภาพที่เป็น จริงของสังคมกำกับอยู่ด้วย

๒. ภารกิจตาม “ประเพณี” ของมหาวิทยาลัยนั้นมีสามด้าน คือ การรวบรวมความรู้ การเผยแพร่ความรู้ และการสร้างสรรค์ความรู้ ภารกิจตาม “ประเพณี” ทั้งสามของมหา วิทยาลัยยังเป็นสิ่งที่สังคมคาดหวังจากมหาวิทยาลัย อยู่ และไม่มีเหตุผลที่มหาวิทยาลัยจะปฏิเสธบทบาทตาม “ประเพณี” นี้

อย่างไรก็ตาม ภารกิจตาม “ประเพณี” นี้จะปฏิบัติอย่างไรในทาง รูปธรรม ไม่มีแบบแผนตายตัวให้ปฏิบัติ เพราะขึ้นอยู่กับสภาวะสังคมแต่ละสังคม ซึ่งไม่เหมือนกัน มหาวิทยาลัยพึงปฏิบัติภารกิจทั้งสามอย่างไรให้มีประสิทธิภาพ ในสังคมไทยเป็นสิ่งที่มหาวิทยาลัยไทยต้องคิดเอง เช่น ระหว่างการสอนภาษาไทย แก่เด็กที่แอลเอกับรายการภาษาไทยวันละคำทางโทรทัศน์ โครงการอย่างไรที่ มหาวิทยาลัยพึงทุ่มเททรัพยากรให้ เป็นต้น

นอกจากการปรับภารกิจและบทบาทตาม “ประเพณี” ของมหาวิทยาลัย ให้สอดคล้องกับสังคมของตนแล้ว ยังน่าคำนึงด้วยว่า มหาวิทยาลัยในปัจจุบันได้ เปลี่ยนแปลงไปแล้วในหลายๆ ด้าน มหาวิทยาลัยจะปรับตัวอย่างไรจึงจะสามารถ ปฏิบัติภารกิจของตนที่พึงมีต่อสังคมได้ต่อไป

ดังจะยกตัวอย่างความเปลี่ยนแปลงด้านเดียวของมหาวิทยาลัยเป็นอุทาหรณ์ มหาวิทยาลัยปัจจุบันไม่ได้เป็นหรือเกือบไม่ได้เป็นสถาบันของความรู้ที่ เป็นองค์รวมอีกแล้ว แต่เป็นสถาบันของความรู้เฉพาะด้านจำนวนมากซึ่งไม่ค่อย เกี่ยวเนื่องสัมพันธ์กัน (ดังที่นักคิดฝรั่งบางคนเรียกสถาบันเช่นนี้ว่า multiversity แทน  university) ความรู้กลายเป็นความชำนาญเฉพาะด้าน ซึ่งไม่ช่วยให้ มนุษย์แต่ละคนที่จบการศึกษาขั้นมหาวิทยาลัยรู้จักโลกและชีวิตดีขึ้นแต่อย่างไร ในสภาพเช่นนี้ ความรู้ทางภาษาและวรรณคดีไทยก็จะกลายเป็นความชำนาญ เฉพาะด้าน สำหรับเขียนข่าวแก่ผู้ที่เรียนทางด้านนิเทศศาสตร์ สำหรับการเขียน รายงานแก่ผู้ที่เรียนในสาขาอื่นๆ ฯลฯ และกลายเป็นโลกแคบๆ ที่ขัง “นัก” ภาษาและวรรณคดีไว้ตามลำพัง

ภยันตรายของการทำวิชาการให้กลายเป็นความชำนาญเฉพาะด้านนี้ ไม่ได้เกิดกับภาษาและวรรณคดีเท่านั้น แต่คุกคามคุณค่าอันแท้จริงของวิชา มนุษยศาสตร์ทั้งหมด

ภารกิจตาม “ประเพณี” ทั้งสามนี้ แม้แยกกันได้เป็นสามข้อ แต่ความ จริงแล้วมีความสัมพันธ์เชื่อมโยงกันอย่างแยกไม่ออก ไม่มีภารกิจด้านใดจะ สามารถปฏิบัติได้โดดๆ โดยปราศจากการปฏิบัติภารกิจอีกสองด้านควบคู่กันไป ข้อนี้มีความสำคัญที่จะต้องย้ำไว้ในที่นี้ เพราะเป็นแนวโน้มในปัจจุบันที่มักจะ จัดแยกภารกิจทั้งสามด้านนี้ออกจากกันอย่างเด็ดขาด ดังจะเห็นได้จากวิธีจัดการ บริหารของมหาวิทยาลัยต่างๆ

ภารกิจทั้งสามเป็นพื้นฐานของการกำหนดบทบาทของมหาวิทยาลัยในการ ส่งเสริม ภาษาและวรรณคดีไทย ไม่ว่ามหาวิทยาลัยจะดำเนินกิจกรรมอะไรก็ ตามเพื่อการส่งเสริม จำเป็นต้องดำเนินไปโดยมีพื้นฐานจากภารกิจสามด้านของ มหาวิทยาลัยดังกล่าวนี้ มิเช่นนั้นแล้วการ ส่งเสริม ของมหาวิทยาลัยก็ไม่มีอะไร พิเศษไปจากการส่งเสริมขององค์กรอื่นๆ เท่ากับว่ามหาวิทยาลัยไม่ได้ใช้พลังอัน แข็งแกร่งที่เป็นคุณสมบัติของตนในกิจกรรม ส่งเสริม นั้นๆ

ฉะนั้นปัญหาว่ามหาวิทยาลัยควร ส่งเสริมภาษาและวรรณคดีไทย อย่างไร จึงไม่ได้จำกัดอยู่แต่ว่ามหาวิทยาลัยควรดำเนินกิจกรรมอะไรบ้างเพื่อการ นี้ แต่สัมพันธ์อย่างยิ่งกับการย้อนกลับไปดูการปฏิบัติภารกิจทั้งสามด้านของ มหาวิทยาลัยในเรื่องที่เกี่ยวกับภาษาและวรรณคดีไทย หากการปฏิบัติภารกิจทั้ง สามด้านของมหาวิทยาลัยไม่เสริมสร้างให้มหาวิทยาลัยเป็นสถาบันแห่งความรู้ที่ แท้จริงของภาษาและวรรณคดีไทย กิจกรรมส่งเสริมของมหาวิทยาลัยจะมี คุณประโยชน์ต่อสังคมจริง ย่อมเป็นไปไม่ได้ ด้วยเหตุดังนั้นในที่นี้จึงจะกล่าวถึง บทบาทส่งเสริมภาษาและวรรณคดีในเงื่อนไขของภารกิจสามด้านของ มหาวิทยาลัยดังกล่าวมาแล้ว............

( ที่มา : นิธิ เอียวศรีวงศ์, บทบาทของมหาวิทยาลัยในการส่งเสริมภาษาและวรรณคดีไทย, วารสารอักษรศาสตร์ ปีที่ 22 ฉบับที่ 2. 2533.)

คำศัพท์

คำอธิบายไวยากรณ์

๑) ในการ 動詞と名詞をつなぐ働き。

名詞 + ในการ + 動詞

๒) ความจริงแล้ว 実際のところ。จริงๆ แล้วは、話し言葉。

文節1 + ความจริงแล้ว + 文節2

๓) ไม่ว่าจะเป็น.....หรือ.....ก็ตาม ~にもかかわらず。~を問わず。

文節1 + ไม่ว่า + 文節2 + ก็ตาม

๔) ไม่.....อีกแล้ว もう、~しなくなった。

主語 + ไม่ + 動詞 + อีกแล้ว

๕) ในขณะเดียวกัน 同時に。固い表現。

文節1 + ในขณะเดียวกัน + 文節2

๖) ถึงอย่างไร.....ก็..... ~だけれども。逆接の接続詞。

ถึงอย่างไร + 主語 + ก็ + 動詞

๗) ก็ต่อเมื่อ ~しない限り。条件、強調の接続詞。

文節1 + ก็ต่อเมื่อ + 文節2(条件)

      

๘) ใน เชิง..... ~的な。抽象名詞の修飾に使用する。แบบ.....

名詞 + ในเชิง + 名詞

๙) อย่างไรก็ตาม しかしながら。固い表現。

文節1 + อย่างไรก็ตาม + 文節2

๑๐)พึง ~すべき。固い表現。ควรは、普通の表現。

พึง + 動詞

๑๑ ) ไม่...แต่อย่างใด 決して~でない。ไม่...เลย と同じ意味。

ไม่ + 動詞 + แต่อย่างใด

๑๒) ดังที่..... ~のように。~のとおりに。

文節1 + ดังที่ + 文節2(実例)

๑๓) ดังจะเห็นได้จาก..... ~のことから、わかるように。

文節 + ดังจะเห็นได้จาก + 名詞句

๑๔) ต้อง.....มิเช่นนั้น..... ~しなければならない。さもなければ~。

主語 + ต้อง + 動詞 + มิเช่นนั้น + 文節(結果)

๑๕) เพราะฉะนั้น...จึง それゆえ。固い表現。

文節1(原因) + เพราะฉะนั้น + 文節2(主語 + จึง + 動詞)

๑๖) ย่อม 当然である。助動詞。

主語 + ย่อม + 動詞