บทที่ ๙
ความเป็นมาของคำว่า Good Governance
ในสังคมไทย

เท่าที่รวบรวมข้อมูลได้พบว่า คำว่า Good Governance ถูกใช้เป็นครั้ง แรก เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 2540 ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ในงานสัมมนาทาง วิชาการเกี่ยวกับวิกฤตเศรษฐกิจที่สังคมไทยเริ่มประสบในขณะนั้น ต่อมาธีรยุทธ บุญมีจุดประกายขบวนการ
“ธรรมรัฐ” ในเดือนมกราคม 2541 และนายอานันท์ ปันยารชุน ได้เริ่มจัด “ธรรมรัฐแห่งชาติฟอรัม” ครั้งแรกขึ้นเมื่อเดือนมีนาคม 2541 และจัดต่อมาอีก 10 กว่าครั้งทำให้นักวิชาการจำนวนมากหันมาสนใจปรากฏการณ์ “ธรรมรัฐ” มากยิ่งขึ้น จนถึงปัจจุบัน

ในเรื่องคำแปลนั้น พบว่านักวิชาการแปลคำว่า Good Governance ต่างกันไป เช่น แปลว่า ธรรมรัฐ ธรรมาภิบาล ธรรมราษฎร์ ธรรมรัฐแห่งชาติ และ คำอื่นๆ แต่คำแปลที่ใช้กันมากที่สุด คือ คำว่า “ธรรมรัฐ” ผู้เขียนจะใช้คำนี้ในบทความนี้

ในเรื่องการให้ความหมายนั้น พบว่า นักวิชาการต่างให้ความหมาย ต่างๆ กันไปในรายละเอียด ธีรยุทธ บุญมี ให้ความหมายธรรมรัฐว่า คือ  กระบวนการมีส่วนร่วมระหว่างภาครัฐ ภาคสังคม ภาคเอกชน และประชาชนใน การที่จะทำให้การบริหารงานภาครัฐดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพ มีคุณภาพ โปร่งใส ยุติธรรมและตรวจสอบได้โดยวิธีการจะไปถึงเป้าหมายดังกล่าว คือ การ จัดตั้งคณะกรรมการธรรมรัฐแห่งชาติที่จะเป็นสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมตามรัฐธ รรมนูญใหม่

สำหรับนายแพทย์ประเวศ วะสี ให้ความหมายธรรมรัฐว่า คือการป ฏิรูปสังคมให้เข้มแข็งถูกต้องเป็นธรรมทุกส่วนของสังคม มีสิทธิความเป็นมนุษย์ มี เศรษฐกิจพอเพียง มีประชาสังคม มีเศรษฐกิจมหภาค รัฐสภา สื่อกฎหมายถูกต้อง และจัดการศึกษาให้คนมีสติปัญญาเข้มแข็ง

นักวิชาการอาวุโสอีกท่าน คือ ศาสตราจารย์เสน่ห์ จามริก ให้ ความหมาย ธรรมรัฐ ว่าเป็นการทำตามคำสั่งของ IMF และบริษัทต่างชาติ และ เห็นว่าตราบใดที่ คนยากจน ไม่ได้มีส่วนร่วมตราบนั้นธรรมรัฐจะไม่เกิดขึ้นเพราะ คนจนไม่ได้รับการพัฒนาเหมือนเดิม ดังนั้นต้องทำชุมชนให้เข้มแข็งโดยเน้น ประชาสังคมเข้มแข็ง ส่วนอาจารย์เอกวิทย์ ณ ถลาง เชื่อมั่นว่าชนบทมีศักยภาพ ในการพึ่งตนเองเกิดธรรมรัฐในระดับหนึ่งแล้วโดยไม่ต้องรอคอยธรรมรัฐจัดตั้ง สำหรับนายอานันท์ ปันยารชุน ให้ความหมายคำว่า ธรรมรัฐเหมือนความหมายที่ ใช้กันในสังคมตะวันตก นักวิชาการบางคนบอกว่า เขาเป็นตัวแทนแนวคิดตลาด เสรีนิยม สำหรับธนาคารพัฒนาการแห่งเอเชีย (ADB) ยึดองค์ประกอบ 5 ประการของธรรมรัฐดังนี้ คือ

  • 1. ความน่าเชื่อถือ มีหลักการมีกฎเกณฑ์ชัดเจน (Accountability)
  • 2. ความโปร่งใส (Transparency)
  • 3. ความสามารถคาดการณ์ได้ (Predictability)
  • 4. การมีส่วนร่วม (Participation)
  • 5. ความสัมพันธ์ของ 4 หลักการดังกล่าว (Interrelation)
  • นอกจากนี้มีนักวิชาการอีกมากที่พยายามจะให้ความหมายคำว่า ธรรมรัฐ

สำหรับผู้เขียนให้ความหมายธรรมรัฐว่า “เป็นกระบวนการบริหารจัดการทรัพยากรโดยรัฐคำนึง ถึงผลประโยชน์ของประชากรทุกส่วนในสังคม และดำเนินการไปอย่างโปร่งใส ยุติธรรม ตรวจสอบได้ ประชาสังคมมีส่วนร่วมในกระบวนการดังกล่าวเพื่อให้คนทุกกลุ่มในสังคมไทยอยู่กันอย่างผาสุก เอื้ออาทร สามัคคี มีโอกาสชีวิตเท่าเทียมกัน มีคุณภาพชีวิตใกล้เคียงกัน มีช่องว่างทางสังคมน้อยลง ทุกคนยึดหลักมนุษยธรรมหรือธรรมะเป็นหลักในการดำเนินชีวิต”

( ที่มา : นิเทศ ตินณะกุล (บรรณาธิการ), รวมบทความสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา พ.ศ.2544, ภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. 2544.)

คำศัพท์

คำอธิบายไวยากรณ์

๑) เท่าที่..... ~するかぎり。~の範囲内で。

๒) พบว่า ~が明らかになった。~がわかった。

๓) ในเรื่อง.....(นั้น) ~の話では。

ในเรื่อง + 名詞(句) + (นั้น)

๔) ในระดับหนึ่ง ある程度。