บทที่ ๕
จังหวัดเชียงใหม่

จังหวัดเชียงใหม่ ใช้อักษรย่อว่า “ช.ม.” อยู่ห่างจากกรุงเทพมหานคร ๖๙๗ กิโลเมตร มีความสำคัญเป็นที่สองรองจากกรุงเทพมหานคร ในตัว เมืองเชียงใหม่ จัดรูปการปกครองท้องถิ่นเป็น เทศบาลนคร อันเป็นเทศบาล ขนาดใหญ่ที่สุด เชียงใหม่เป็นจุดศูนย์กลางทางด้านวัฒนธรรมของ ล้านนาไทย มีรายได้จากการท่องเที่ยวปีละหลายสิบล้าน

มีสถานที่สำคัญเหมาะแก่การท่องเที่ยวมากมาย เช่น วัดเจดีย์เจ็ดยอด น้ำตกห้วยแก้ว น้ำตกแม่สา ถ้ำเชียงดาว พระตำหนักภูพิงค์ราชนิเวศน์ ออบหลวง วัดพระบรมธาตุดอยสุเทพ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติเชียงใหม่ หมู่บ้านชาวเขา ดอยปุย วัดสวนดอก ศูนย์อุตสาหกรรมทำร่มบ่อสร้าง บ่อน้ำร้อนฝาง น้ำตกแม่กลาง วนอุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ วัดดอยแม่ปัง ฯลฯ

ความเป็นมา

หลังจากเจ้าพระยามังรายมหาราชทรงสร้างเมืองเชียงรายแล้ว พระองค์ ยกทัพมาตีเมืองลำพูนได้ และทรงสร้างเมืองขึ้นมาอีกแห่งหนึ่งในท้องที่ อำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่ในปัจจุบัน แต่พระองค์ก็ยังไม่ทรงพอพระทัย กับเมืองที่สร้างขึ้นใหม่นี้ เพราะเป็นที่ลุ่มน้ำท่วมอยู่เป็นประจำ ต่อมาวันหนึ่ง พระองค์ได้เสด็จออกไปล่าสัตว์ได้พบทำเลอันสวยงาม เหมาะที่จะสร้างเป็น เมือง จึงได้ทรงปรึกษากับพระสหายอีก ๒ พระองค์ คือ พระยารามคำแหง แห่งกรุงสุโขทัย และพระยางำเมือง แห่งเมืองพะเยา พระสหายทั้ง ๒ พระองค์ทรงเห็นด้วยว่า สถานที่แห่งนั้นเหมาะสมที่จะสร้างเป็นเมืองอย่างยิ่ง พระยามังรายจึงตัดสินพระทัยสร้างและพระราชทานนามว่า “เชียงใหม่" เป็น ราชธานีแห่งแคว้นล้านนาไทยเมื่อปี พ.ศ. ๑๘๓๙

คำขวัญประจำจังหวัด

“ดอยสุเทพเป็นศรี ประเพณีเป็นสง่า บุปผชาติล้วนงามตา นามล้ำค่านครพิงค์”

ต้นไม้ประจำจังหวัด ทองกวาว

ปัจจุบันจังหวัดเชียงใหม่มีพื้นที่ ๒๒,๘๔๘,๔๒๑ ตารางกิโลเมตร มีอาณาเขตติดต่อกับจังหวัดอื่นดังนี้

  • ทิศเหนือ ติดต่อกับจังหวัดเชียงรายและประเทศสหภาพพม่า
  • ทิศตะวันออก ติดต่อกับจังหวัดลำพูน และจังหวัดลำปาง
  • ทิศใต้ ติดต่อกับจังหวัดสุโขทัย และจังหวัดตาก
  • ทิศตะวันตก ติดต่อกับจังหวัดแม่ฮ่องสอน

(ที่มา : วิรัช ถิรพันธุ์เมธี, คำขวัญและสัญลักษณ์ ๗๕ จังหวัด. ไม่ทราบปี.)

คำศัพท์

ราชาศัพท์

คำอธิบายไวยากรณ์

๑) ละ ~につき。

類別詞 + ละ

๒) เหมาะแก่.... เหมาะที่จะ.... ~にふさわしい。

เหมาะแก่ + 名詞

เหมาะที่จะ + 動詞

๓) หลังจาก.....แล้ว ~した後。

หลังจาก + 文節1 + แล้ว + 文節2

๔) แห่ง ①場所の類別詞。②~の。意味は ของ と同じで前置詞。

数 + แห่ง

名詞 + แห่ง + 名詞

๕) ยัง.... まだ。助動詞。ある状態・地位が、まだ終わっていない。

ยัง + 動詞

๖) ได้.... ~する機会を持つ。มีโอกาส と同じ意味。

ได้ + 動詞

๗) ซึ่ง ~であるところの。関係代名詞。

名詞 + ซึ่ง + 文節(修飾文)

๘) ว่า ~ということ。

主語 + 動詞 + ว่า + 従属文

๙) อย่างยิ่ง 非常に。普通は、อย่างมาก。語調を整えるために、อย่าง を省略することもある。

動詞 + 形容詞 + อย่างยิ่ง

๑๐) ตาราง..... ~平方。面積。

ตาราง + 長さをあらわすメートルなどの単位

๑๒) ดังนี้ (ดังต่อไปนี้) 次のように。順にものを並べて言う時に使う。
 短く並べる時には、ดังนี้ は使わない。短い時には、ได้แก่ を使う。

๑๓) แบ่ง.....ออกเป็น ~を~に分ける。

แบ่ง + 目的語 + ออกเป็น + 数