บทที่ ๖
น้องของปิติ

ระยะเวลาปิดเรียนภาคปลายเป็นช่วงเวลาที่เนิ่นนานพอสมควร แต่สำหรับ ปิติ เขามีความรู้สึกว่าวันหนึ่งๆ ผ่านไปรวดเร็วเหลือเกิน เพราะเขาต้องทำงาน หลายอย่าง เป็นต้นว่า เลี้ยงหมูแทนยาย เลี้ยงปลานิลซึ่งขยายออกไปอีก หลายบ่อ ดูแลเจ้านิลและอื่นๆ อีกจิปาถะ บางครั้งพ่อหรือแม่ก็วานเขา ทำธุระต่างๆให้ด้วย นอกจากนี้ ในฐานะที่เขาเป็นผู้นำเยาวชนคนหนึ่งของ ศูนย์เยาวชน จึงต้องเข้าร่วมกิจกรรมหลายอย่าง ทั้งที่เป็นประโยชน์แก่ เยาวชนและเป็นการพัฒนาท้องถิ่นด้วย ปิติจึงไม่ค่อยได้ตระเวนไปตามบ้าน เพื่อนฝูง แล้วพากันเตร็ดเตร่สนุกสนานเหมือนอย่างเคย เขามีความสำนึก ทีละน้อย ๆ ว่า ยิ่งโตขึ้นก็ยิ่งมีภาระ หน้าที่ต้องรับผิดชอบตัวเอง ครอบครัว และสังคมเพิ่มขึ้น แต่เขาก็มิได้รู้สึกลำบากใจหรือเบื่อระอาแต่อย่างใด เพราะ ความรู้สึกเช่นนี้ซึมซาบเข้าสู่จิตใจทีละน้อย ๆ จนเป็นส่วนหนึ่งของตัวเขาเอง

มานี ชูใจ ดวงแก้ว และสมคิด ต่างก็มีความรู้สึกเช่นเดียวกับเขา เวลา ที่จะเล่นหัวหรือสนุกสนานกับเรื่องไร้สาระเช่นแต่ก่อนมีน้อยลง วีระกับ มานะเรียนสำเร็จชั้นประถมศึกษาแล้ว ต่างเตรียมตัวจะศึกษาต่อในชั้น มัธยมศึกษา พวกเด็ก ๆ จึงห่างเหินกันไป นาน ๆ ก็นัดพบปะสังสรรค์ สักครั้งหนึ่ง

ขณะนี้น้องชายของปิติอายุห้าขวบแล้ว เป็นเด็กเฉลียวฉลาดและซุกซน มาก ปิติรับภาระคอยดูแลเอาใจใส่น้องแทนยายและพ่อแม่ เขาพยายามทำ ตัวให้เป็นตัวอย่างที่ดี ฝึกให้น้องรู้จักช่วยตัวเอง และช่วยทำงานง่ายๆได้ น้องรักยายและปิติมาก เวลายายหรือปิติไปไหน ก็มักจะอ้อนวอนขอตาม ไปด้วย

วันหนึ่งปิติพูดกับน้องว่า “ พี่จะเล่านิทานให้ฟังเรื่องหนึ่ง คนในนิทาน เรื่องนี้ไม่รู้จักฟัง ทำให้ได้รับผลร้ายยิ่งกว่าน้องเสียอีก”

“มีชายคนหนึ่ง เป็นคนฟังไม่เป็น ฟังอะไรก็ไม่ตั้งใจฟังให้จบข้อความ บางครั้งคนอื่นพูดอย่างหนึ่ง ไพล่ไปคิดเป็นอีกอย่างหนึ่ง แล้วไปเล่าต่อ ผิด ๆ ด้วย

วันหนึ่งเขาแอบได้ยินโจรสองคนซุบซิบกันว่า มีสมบัติมากมายซ่อนอยู่ใน โพรงใต้ฐานเจดีย์ใหญ่ในวัด พอเขาได้ฟังเท่านั้น ก็รีบวิ่งไปที่เจดีย์ใหญ่ เห็นโพรงอยู่ใต้ฐาน ก็รีบมุดลอดเข้าไปควานหาสมบัติ เจดีย์ใหญ่เก่าแก่ ก็ทรุดลงทับเขาแบนติดดิน

ถ้าเขาตั้งใจฟังขโมยสองคนนั้นพูดต่อไปอีก ก็จะรู้ว่าฐานเจดีย์นั้นเก่า ทรุดโทรมมาก ถ้ามีอะไรเข้าไปกระเทือนอยู่ข้างใต้ก็จะทรุดลงทันที ขโมย จึงคบคิดหาวิธีการอยู่ ชายคนนั้นไม่ฟังให้รู้เรื่อง จึงต้องตาย

น้องจำไว้ การฟังสำคัญมาก ถ้าฟังเป็นจะทำให้เราเป็นคนฉลาด ถ้าฟังไม่ เป็น ทำให้เราเป็นคนโง่หรือเป็นอันตรายต่อตัวเองและคนอื่นด้วย ฟังสิ่งใด แล้วต้องคิด ถ้าฟังไม่เข้าใจต้องถาม”

(ที่มา : กระทรวงศึกษาธิการ, หนังสือเรียนภาษาไทย เล่ม ๑ ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖. 2527.)

คำศัพท์

คำอธิบายไวยากรณ์

๑) พอสมควร (どちらかと言えば)かなり~である。程度をあらわす副詞。

形容詞 + พอสมควร

๒) เหลือเกิน 非常に。

形容詞 + เหลือเกิน

๓) ต่าง ๆ 様々の。

名詞 + ต่าง ๆ

๔) วาน ~するように頼む。

วาน + 行為者 + 動詞 + ให้

๕) ก็....ด้วย ~もまた。เช่นกัน เหมือนกัน と同じ意味。

主語 + ก็ + 動詞 + ด้วย

๖) จึง... だから。それゆえ。จึง より、เลยの方が口語的である。

原因の文節 + 結果の文節

  • (主語 + จึง + 動詞)

๗) ไม่ค่อย 部分否定。あまり~でない。あまり(頻度が)~ない。

ไม่ค่อย  + 形容詞/動詞

๘) พากัน ともに~する。พากัน は、次の動詞を修飾する。

主語 + พากัน + 動詞

๙) อย่างเคย いつものように。過去に繰り返したこと全部を修飾する。

文節 + อย่างเคย

๑๐) ทีละน้อย 少しづつ。

動詞 + ทีละน้อย

๑๑) ยิ่ง......ยิ่ง.... ~すればするほど、~する。

ยิ่ง + 動詞 + (ก็)ยิ่ง + 動詞

๑๒) มิได้......แต่อย่างใด 全く~でない。ไม่....เลย は、同じ意味だが話し言葉。

มิได้ + 動詞 + แต่อย่างใด

๑๓) ต่างก็ それぞれが~する。主語は複数である。

主語 + ต่าง(ก็) + 動詞

๑๔) เป็น ~できる。技能を指す。

動詞 + เป็น

๑๕) พอ.....ก็..... ~するやいなや。

พอ + 文節1 + 文節2

  •  (主語 + ก็ + 動詞)