บทที่ ๑๐
คิดแบบเอเชีย

คำนำสำนักพิมพ์

ช่วงที่ผ่านมา หลายประเทศในแถบเอเชียประสบปัญหาวิกฤติเศรษฐกิจ ต่างเร่งดำเนินการแก้ไขตามแนวความคิดของผู้บริหารประเทศ ทั้งที่หวังผลเฉพาะ หน้าเพื่อแก้ปัญหาและกระตุ้นให้ฟื้นตัวในระยะเวลาอันรวดเร็ว ขณะเดียวกัน ก็ เริ่มมีการดำเนินแผนในระยะยาวเพื่อให้เกิดเสถียรภาพทางเศรษฐกิจของประเทศ หากมองวิกฤติเป็นโอกาส ขณะนี้สมควรที่จะได้ใคร่ครวญถึงสาเหตุแห่งปัญหา ทางเศรษฐกิจ ที่ก่อความ เสียหาย ทั้งรุนแรงและกว้างขวาง

บทเรียนจากปัญหาภาวะเศรษฐกิจที่ล้มลงของประเทศภาคพื้นเอเชีย และประเทศไทยเนื่องมาจากสาเหตุใด ได้เกิดกระแสความคิดหนึ่งที่น่าพิเคราะห์นั่นคือ ควรที่คนไทยและชาวเอเชีย จะหันกลับมาแก้ไขปัญหาแบบเอเชีย ด้วย แนวทางและเป้าหมายเพื่อเอเชีย

เมื่อใคร่ครวญเราจะพบว่า ปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นนับตั้งแต่ปัญหาชุมชน ปัญหาสังคม ลุกลามไปถึงปัญหาระดับชาติ กลายเป็นบาดแผลที่ต้องเยียวยากันอย่างต่อเนื่องบ่อยหน นั่นเป็นเพราะหลายครั้งเราไม่เคยคิดย้อนกลับไปพิจารณา ถึงสาเหตุอันจริงแท้ของปัญหา จึงมัวแก้กันที่ปลายเหตุตลอดมา

“คิดแบบเอเชีย” เป็นแนวความคิดที่นำเสนอผู้อ่านว่า รากปัญหาที่ ส่งผลต่อเนื่องไม่เพียงแต่ปัญหาการล้มลงทางเศรษฐกิจเท่านั้น แต่กำลังรุกคืบ กลืนกลายความเป็นเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมอันดีงามของชาติไทยและชาติอื่นๆ ในภาคพื้นเอเชีย นั่นเป็นเพราะ “รากแห่งปัญหาที่แท้จริงอยู่ที่เราต่างดำเนินชีวิตและบริหารงาน บริหารประเทศโดย ‘คิดแบบตะวันตก’...”

หนังสือ “คิดแบบเอเชีย” จะนำผู้อ่านหันย้อนกลับไปพิจารณาใน ประเด็นที่น่าสนใจโดย คุณไพศาล สุริยะวงศ์ไพศาล ผู้เขียนได้ร้อยเรียงด้วย ภาษาที่เข้าใจง่าย วิเคราะห์จากประสบการณ์ตรงที่ได้ไปพบในช่วงการใช้ชีวิต แบบตะวันตกระยะหนึ่ง เมื่อครั้งไปศึกษาต่อ กอปรกับการได้ทำงานมาหลาย องค์กร ทั้งที่ดำเนินการบริหารแบบตะวันตก และตะวันออก ได้ควบแน่นจนเกิด ผลึกทางความคิด ที่พร้อมนำเสนอสู่สังคมเพื่อจะได้ร่วมด้วยช่วยกัน “คิดแบบเอเชีย”

หนังสือเล่มไม่หนานัก จึงสะดวกต่อการได้อ่านความคมชัดทาง ความคิด ที่อาจจะส่งผลถึงการปรับเปลี่ยนแนวความคิดของคนในสังคม ซึ่ง ผู้เขียนได้ออกตัวว่า 
“นี่ไม่ใช่การปลุกกระแสหรือต้องการปฏิวัติทางความคิดผู้อ่าน แต่อยากให้งานเขียนชิ้นนี้ได้เป็นอีกทาง เลือกหนึ่ง ที่ผู้อ่านจะใช้วิจารณญาณตัดสินใจ”

สิ่งที่น่าสนใจจึงอยู่ที่หากดำเนินตามแนวความคิดและเกิดผลในด้านดี ก็จะเอื้อต่อการพัฒนาสังคมประเทศชาติในระยะยาว เพราะการที่จะปรับเปลี่ยน พฤติกรรมคนเราได้นั้น ต้องเริ่มที่ภายในคือปรัชญาความคิด อันจะส่งผลต่อ พฤติกรรมในที่สุด

เราเชื่อว่างานเขียนเล่มนี้ มีคุณประโยชน์ต่อสังคม อย่างน้อยที่สุดก็ได้ จุดประกายทางความคิดว่า เราจะมีส่วนสร้างสรรค์สังคมและประเทศชาติด้วยกัน ได้อย่างไร

สำนักพิมพ์ผู้จัดการ

คำนิยม

 

ดร.เขียน ธีระวิทย์

มนุษย์เราไม่มีทางเลือกว่าจะเกิดหรือไม่เกิดมาเป็นคน แม้พ่อแม่ของเรา จะมีทาง เลือกที่จะให้ลูกเกิดหรือไม่ในระดับหนึ่งก็ตาม  นอกจากนั้น ยังไม่อาจ เลือกเกิดในครอบครัวที่มีฐานะ อาชีพ ประเทศ หรือสิ่งแวดล้อมใดๆ เลย แต่ละคน เกิดมาโดยบังเอิญ เป็นชะตากรรมที่ธรรมชาติกำหนดขึ้น

ครั้นถึงเวลาตาย แม้ท่านจะเป็นเจ้าของชีวิตของตัวก็จริง แต่ท่านก็อาจ ไม่มีสิทธิตายตามใจชอบเสมอไป ถ้าท่านป่วยและมีอาการเจ็บปวดทรมานอย่าง แสนสาหัสจนอยากจะตาย ถ้าท่านไม่มีวิชามารกลั้นลมหายใจตายเอง หรือกัดลิ้น ตายเองดังในภาพยนตร์จีน ท่านก็ตายไม่ได้.........

อย่างไรก็ตาม คนตายไม่เหมือนคนเกิด ก่อนปฏิสนธิในครรภ์มารดานั้น เราเป็นอะไรก็ไม่รู้ แต่ก่อนตายนั้น เรามีฐานะเป็นคน เป็นสมาชิกของสังคมเป็น เวลานานมากน้อยต่างกัน ไม่ว่าเราจะมีชีวิตอยู่ในสถานที่ใดและฐานะใด เรามี ส่วนสร้างกฎเกณฑ์ของสังคมที่ท่านอาศัยอยู่ไม่มากก็น้อย ทั้งนี้รวมทั้งกฎเกณฑ์ เรื่องสิทธิการตายของเราเองด้วย ถ้าเราไม่ชอบเราก็หาทางแก้กฎเกณฑ์หรือ หาทางฝ่าฝืนแล้วแต่แต่ละคนจะคิด-ทำได้ ในอนาคตเป็นไปได้ว่า กฎเกณฑ์ของ สังคมอาจจะเปลี่ยนไป หมออาจจะได้รับอำนาจให้ยาคนตายตามขอได้ในกรณี พิเศษ  หรือคนอยากตายอาจจะหายา “หลับไม่ตื่น” กินได้ง่ายขึ้น ประเด็นที่ ต้องการเน้นในที่นี้ก็คือ คนเกิดนั้นเป็นเรื่องที่ธรรมชาติกำหนด แต่การตายนั้นเป็น เรื่องที่กำหนด โดยธรรมชาติผสมกับกฎเกณฑ์ที่มนุษย์สร้างขึ้น

ท่านเกิดจากความรักหรือความใคร่ของพ่อ-แม่ เกิดในเมือง หรือใน ชนบท เกิดในป่า ปะปนกับพวกลิง ค่าง บ่าง ชะนี หรือเกิดในโรงพยาบาลหรูหรากลางมหานคร จะเป็นลูก ฝรั่ง แขก จีน ฯลฯ ท่านไม่ได้เลือกด้วยตัวเอง แต่เมื่อ ท่านเกิดและเติบโต ณ ที่ใด ท่านย่อมได้รับอิทธิพล-อานิสงส์ของครอบครัวและ ชุมชนที่ท่านเกิดและเติบโต ขณะเดียวกันกับที่ท่านรับมรดกทางวัฒนธรรมของ ชุมชน ท่านก็มีส่วนสร้างวัฒนธรรมของสังคม และตกเป็นของคนรุ่นหลังต่อๆ กัน ไป แต่ละอารยธรรมใหญ่ๆ (ยุโรป อเมริกา หรือ ตะวันตก อินเดีย จีน ฯลฯ) มีเอกลักษณ์จำเพาะของตัว.........

สังคมที่เราอาศัยอยู่ทุกวันนี้ ไม่ว่าจะอยู่ในเอเชีย แอฟริกา ยุโรป หรือ อเมริกา มีปัญหาเรื่องการขาดแคลนสิ่งจำเป็นในการยังชีพ (อาหาร ที่อยู่ เครื่องนุ่งห่ม ยารักษาโรค) การจัดสรรทรัพยากรและรายได้อย่างไม่เป็นธรรมใน หมู่สมาชิกของสังคม การใช้อำนาจรัฐโดยไม่ชอบธรรม รวมทั้งการกดขี่ขูดรีด ระดับในประเทศและระหว่างประเทศ ลัทธิจักรวรรดินิยมทางเศรษฐกิจสมัยใหม่ ระบบทุนนิยมที่กรุยทางให้ “ปลาใหญ่กินปลาเล็ก”

แต่ละซีกโลกมีปัญหาที่เป็นจุดเด่นต่างกัน แต่คนที่ทำให้โลกปั่นป่วนอยู่ ทุกวันนี้ เกิดจากคนรวยที่มีอำนาจแล้วไม่รู้จักพอ แต่ยังพยายามขยายฐานความ รวยและฐานอำนาจอย่าง เอารัดเอาเปรียบเพื่อนร่วมโลกที่อ่อนแอกว่า ด้วย ตัณหาและโลภะจัด ทำให้โลกสับสนวุ่นวาย ตามกระแสวัตถุนิยมและบริโภคนิยม ตะวันตก ปล่อยให้เอกชนเอาของที่ระบบทุนนิยมผลิตออกมาอย่างล้นหลามไปทิ้ง ไม่มีเวลาแม้กระทั่งจัดสรรไปให้คนกำลังจะอดตาย ไม่มีเวลาที่จะถามตัวเองว่า เกิดมาทำไม ชีวิตที่ดีมีคุณภาพเป็นอย่างไร สังคมที่พึงปรารถนาเป็นอย่างไร บทบาทของตัวที่มีคุณค่าในสังคมควรเป็นอย่างไร คิดแต่จะมีอำนาจ อยากรวย ถ้าตัวรวยแล้วไม่ปลอดภัยเพราะรอบด้านจน ก็ลงทุนสร้างมาตรการ ปราบปราม ไม่รู้จักคิดสร้างสังคมมั่งคั่งและความปลอดภัยร่วมกันในระยะยาว

สังคมที่สับสนไร้ทิศทาง เป็นช่องทางให้ลัทธิจักรวรรดินิยมสมัยใหม่ฉวย โอกาสครอบงำโลก โดยไม่ต้องใช้กระสุน หรือแสนยานุภาพทางทหารที่ไร้เทียม ทาน ข่มขู่ทั่วโลก ใช้สหประชาชาติเป็นเครื่องมือปราบปรามพวก “หัวแข็ง” ในนาม ของสันติภาพ และความมั่นคงในทางการเมืองชูธงสิทธิมนุษยชน ในทาง เศรษฐกิจใช้ WTO, IMF, World Bank เป็นเครื่องมือชูธงระบบ การเปิดตลาดเสรี ใช้ระบบทุนนิยมสร้างค่านิยมให้ทุกคนภูมิใจ ในความเจริญจอมปลอม สอนให้ทุก คนใช้คอมพิวเตอร์และใช้ข้อมูลทางอินเทอร์เน็ต และเครือข่ายข่าวสารผ่าน ดาวเทียม ใครยึดอำนาจแพร่ข้อมูลข่าวสารได้ คนนั้นย่อมได้ครองโลก พวกเขา เป็นผู้สร้างกระแส...........

คนไทยได้รับการอบรมให้มีนิสัยทำตามกระแสนิยม จึงตกเป็นเหยื่อของ ลัทธิจักรวรรดินิยมสมัยใหม่ได้ง่าย ดูการเทคะแนนเสียงในการเลือกตั้งของคน กรุงเทพฯ ที่ผ่านมา ดูการจัดรายการตามแฟชั่นของโทรทัศน์ ดูพฤติกรรมบริโภค นิยมของคนไทย 
“ทำอะไรเหมือนฝรั่งถือว่าโก้เก๋” คำพูดของ คุณไพศาล สุริยะ วงศ์ไพศาล บางตอนในหนังสือเล่มนี้ อาจจะบาดใจผู้อ่านเกินไปอยู่บ้าง แต่นั่น เป็นความจริงที่เราควรฟังไว้เตือนสติกันเอง เราไม่ควรคิด ทำตามตะวันตกอย่าง หลับหูหลับตา

ในเรื่องการซื้อเครื่องหมายการค้า ทำไมเราจึงต้องเสียเงินอีกเท่าตัวเพื่อ ซื้อของไทยที่ใช้ยี่ห้อต่างชาติ ใครหลอกเราให้ช่วยกันสร้างระบบเศรษฐกิจ จอมปลอม (อยู่ด้วย การโฆษณาสินเชื่อ เก็งกำไร ปั่นหุ้น ฯลฯ) เศรษฐกิจฟอง สบู่แตกได้ให้บทเรียนอะไรแก่เราบ้าง มีผู้นำไทยคนไหนที่ออกมานำในการรักษา โรคเศรษฐกิจของไทยอย่างถูกจุด ผู้ที่ออกมาขายสโลแกน “คิดใหม่ ทำใหม่” ให้ อะไรแก่เรา สิ่งที่คนไทยต้องการคือ การรับของให้ทาน เครดิต พักการชำระหนี้ กระนั้นหรือ คนไทยต้องการเป็นทาสหรือเป็นไท “คิดใหม่ ทำใหม่” เป็นอะไรที่ ดีกว่านี้มีบ้างไหม เราต้องการ “คิดถูก ทำถูก”
 “คิดดี ทำดี” มีประโยชน์ต่อคนดี

ในหนังสือเล่มนี้ คุณไพศาลสุริยะวงศ์ไพศาล ได้จุดกระแสต้านกระแสนิยม เข้าใจว่า คุณไพศาลตระหนักดีถึงพลังอำนาจของระบบทุนนิยม และโอกาสที่ใคร จะเอาชนะนั้นยากมาก ฉะนั้น คุณไพศาลมิได้ชักชวนใครให้ทำสงครามต่อต้าน กระแสนิยมของลัทธิทุนนิยมที่กำลังเบ่งบาน ภายหลังลัทธิสังคมนิยมล่มสลาย แต่คุณไพศาลแนะให้มีสติเลือกเดินทางของเราเอง ไม่ต้องตั้งหน้ารังเกียจของดีที่ แฝงอยู่กับลัทธิทุนนิยมเสมอไป คุณไพศาลได้ให้ข้อคิดและข้อมูลประกอบมาก เรียกร้องให้คนไทยค้นหาผู้นำที่มีวิสัยทัศน์กว้างไกล ดังที่มีอยู่ในเพื่อนบ้านของเรา ในสิงคโปร์และจีน เข้าใจว่าวิสัยทัศน์ที่คุณไพศาลพูดถึงไม่ใช่คนที่หาเงินเก่ง หรือ ร่ำรวยมาก แต่หมายความถึงคนที่รู้จักคิดเอง รู้จักหาทางให้คนอื่นร่วมคิดในสิ่งที่ดีงาม และเป็นประโยชน์ต่อสังคมไทยทั้งหมด และสามารถระดมคนร่วมกันทำสิ่ง นั้นให้เกิดผลในทางปฏิบัติ ประโยชน์ ความปลอดภัย ความสุข ที่จะตกแก่สังคม นั้นจะต้องกระจายไปสู่คนจำนวนมากที่สุด

หวังว่าคุณไพศาลจะไม่ฝันคนเดียว และถ้าปลุกกระแสขึ้นได้ ก็จะไม่ กลายเป็นกระแสปลอบโยนกันเอง กระแสลัทธิทุนนิยม ที่ส่งเสริมค่านิยมบริโภค นิยมมีพลังอำนาจมากก็จริง แต่มันมีจุดอ่อนที่สามารถสร้างความทุกข์ให้คนเป็น จำนวนมาก การเหลื่อมล้ำกันในทางสังคมทั้งในด้านเศรษฐกิจและการเมืองเป็น สิ่งที่เห็นและสัมผัสได้ นั่นคือ พันธมิตรผู้ร่วมทางมีอยู่อย่างกระจัดกระจาย แล้วรอ ผู้นำในด้านการคิดและจังหวะที่เหมาะสม ลัทธิทุนนิยมอาจจะไม่พังทลายได้ ง่ายๆ ในระยะเวลาอันสั้น แต่ย่อมต้องพังไปเองในระยะยาว

หวังว่าคุณไพศาลจะไม่ชักชวนให้พวกเรา “คิดแบบเอเชีย” อย่างเดียว แต่ชวนให้พวกเรา “ทำ” ด้วย ส่วนจะให้ “คิดแบบเอเชีย ทำแบบเอเชีย” หรือ “คิดแบบเอเชีย ทำแบบฝรั่ง” ก็แล้วแต่ผู้ร่วมอุดมการณ์จะตกลงกัน ที่สำคัญคือ คิด แล้วต้องทำด้วย ไม่ใช่ตั้งอาศรมคุยกันแล้วปล่อยให้เสียงพูดหายไปกับอากาศ หรือ พิมพ์ความคิดออกมาเป็นเล่มๆ แล้ววางไว้บนหิ้งผลัดกันชม ถึงเวลาแล้วที่พวกเรา จะรวมตัวกันสร้างความภาคภูมิใจในมรดกทางภาษา วัฒนธรรม และภูมิปัญญา ของเราเอง ถึงเวลาแล้วที่พวกเราจะต้องหาทางดำเนินชีวิตอยู่อย่างมีคุณภาพ โดยการสร้างเครือข่ายระบบข่าวสารของเราเอง พัฒนาผู้นำในด้านความคิดของ เราเอง ส่งเสริมผู้เชี่ยวชาญประจำประเทศของเราเอง ส่งเสริมระบบการทำงาน อย่างมีประสิทธิภาพของเราเอง มีกองทัพการทูตสร้างระเบียบสังคมโลกของเราที่ เป็นธรรมมากกว่าที่เป็นอยู่ มีพันธมิตรสำหรับสร้างกระแสโลกของเราบ้าง ทุก อย่างจะต้องทำโดยยึดหลักไม่สร้างศัตรู ใช้กลวิธี “ขยายจุดร่วมสงวนจุดต่าง” เรียนรู้ศิลปะการจัดตั้งของขบวนการ “วัดธรรมกาย” ของไทย และ “ฝ่าหลุนกง” ของจีน โดยตัดบทเรียนที่ไม่ดีออก

เขียน ธีระวิทย์

สงครามเศรษฐกิจและวัฒนธรรม

 

ระหว่างศตวรรษที่ 16 ถึงต้นศัตวรรษที่ 20 ชนชาติตะวันตกเปิดสงคราม ล่าอาณานิคมด้วยแสนยานุภาพทางทหาร โดยใช้กองทัพเรือ และอาวุธที่ทันสมัย บุกเข้ายึดดินแดนต่างๆ ไว้ทั่วโลก เพื่อไว้ใช้เป็นแหล่งวัตถุดิบป้อนโรงงาน อุตสาหกรรมของตน รวมทั้งเพื่อเป็นตลาดรองรับสินค้าที่พวกตนผลิตอีกด้วย

ที่ร้ายยิ่งกว่านั้นคือ บังคับใช้แรงงานฟรี หรือให้ค่าตอบแทนอย่างต่ำที่สุด

และที่ร้ายแรงที่สุดคือ จับคนเป็นทาส จากข้อมูลทางประวัติศาสตร์ ชาว ยุโรปจับชาวอัฟริกันอัดใส่เรือเหมือนปลากระป๋อง บรรทุกข้ามมหาสมุทรแอตแลน ติคไปยังทวีปอเมริกาอย่างน้อย 8 - 12 ล้านคน

ในจำนวนนี้ รอดตายเพียงครึ่งเดียวและกลายเป็นทาสของชนผิวขาว กรรมที่ชาวผิวขาวสร้างไว้ก็กำลังตามสนองพวกเขาอยู่ทุกวันนี้

ความขัดแย้งระหว่างคนผิวดำและคนผิวขาว ยังคงคุกรุ่นอยู่เหมือนภูเขา ไฟที่ดับลงชั่วคราวและพร้อมที่จะปะทุขึ้นตลอดเวลาหากมีโอกาส

ตราบใดที่สภาวะเศรษฐกิจของสหรัฐฯ ยังเจริญรุ่งเรืองดังเช่นทุกวันนี้ ปัญหาความขัดแย้งของสีผิวก็สงบราบเรียบ

แต่ถ้าเมื่อใด เศรษฐกิจของประเทศมีปัญหา ความขัดแย้งดังกล่าวก็ พร้อมที่จะระเบิดขึ้นมาทันที หากมีเชื้อไฟไม่ว่าจะเล็กน้อยเพียงใด เช่น กรณี ตำรวจทำร้ายคนผิวดำที่นครลอสแองเจิลลิสในปี 1991 ซึ่งเป็นปีเศรษฐกิจตกต่ำ

เหมือนนิทานอีสปเรื่องน้ำผึ้งหยดเดียว เมื่อศาลพิพากษาว่าเจ้าหน้าที่ตำรวจไม่ผิด ไม่ได้ปฏิบัติหน้าที่เกินกว่าเหตุ

เพียงเท่านั้น นครลอสแองเจิลลิสก็ลุกเป็นไฟ เมื่อชาวผิวดำแห่ออกมา ปิดถนน และทำร้ายคนผิวขาวอย่างไม่เลือกหน้า กลายเป็นจลาจลซึ่งมีผู้คน บาดเจ็บล้มตายกันหลายร้อยคน

อย่างไรก็ดี สงครามสมัยนี้ ชาวตะวันตกโดยเฉพาะอเมริกัน ไม่ได้ใช้ สงครามทางอาวุธเป็นเครื่องมือในการรุกรานหรือล่าอาณานิคมอีกต่อไป

สงครามที่พวกเขาใช้นั้นคือ สงครามเศรษฐกิจ และวัฒนธรรม เป็น เครื่องมือหรือกลไกในการสยบชาวเอเชีย ลาตินอเมริกัน และอัฟริกันให้อยู่ภายใต้ อาณัติของพวกเขา

สงครามเศรษฐกิจที่พวกเขาใช้คือ ระบบเศรษฐกิจทุนนิยม และกลไก ตลาดเสรี หรือที่เรียกว่า “โลกาภิวัฒน์” ซึ่งอาศัยเทคโนโลยีทางข้อมูลข่าวสารเชื่อม โลกทั้งโลกให้เป็นหนึ่งเดียว

พร้อมทั้งใช้องค์กรระหว่างประเทศ เช่น ธนาคารโลก IMF และ WTO เป็นตัวผลักดันให้เกิดระบบตลาดเดียวในโลกขึ้น โดยการบังคับให้ประเทศต่างๆ เปลี่ยนแปลงกฎหมาย กฎเกณฑ์ และกติกาให้เหมือนกับตะวันตกหมด

ไม่ว่าจะเป็นระบบอัตราการเก็บภาษี กติกาการแข่งขัน กฎเกณฑ์ในการลงทุน หรือกฎหมายแรงงาน ฯลฯ

ถ้าคิดอย่างผิวเผิน คิดแบบตะวันตกหรือแบบสหรัฐฯ กลไกตลาดเสรีนั้นดีเยี่ยม เพราะส่งเสริมการแข่งขัน ผู้บริโภคจะได้รับผลประโยชน์

บริษัทท้องถิ่นของชาติกำลังพัฒนาอย่างไทยเรา หากไม่สามารถปรับตัว ให้ทันกับการเปลี่ยนแปลง ก็ไม่ควรจะอยู่ดำเนินกิจการต่อไป เพราะขาด ประสิทธิภาพ ส่งผลให้ผู้บริโภคต้องซื้อของแพง ถูกเอารัดเอาเปรียบ

กล่าวอีกนัยหนึ่งคือ กิจการที่มีความสามารถในการแข่งขันเหนือกว่า เท่านั้นจึงควรอยู่ในตลาดเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภค

กิจการที่ว่านี้คือ บริษัทข้ามชาติจากชาติที่พัฒนาแล้ว เพราะบริษัท เหล่านี้มีความพร้อมมากกว่า ไม่ว่าจะเป็นเรื่องทุนทรัพย์ ประสบการณ์ในการ ดำเนินธุรกิจ คุณภาพบุคลากร เทคโนโลยี รวมถึงวิธีการบริหารจัดการ

ขณะที่บริษัทท้องถิ่นของชาติกำลังพัฒนาอย่างไทย เกือบร้อยทั้งร้อยไม่ อาจจะต่อกรหรือแข่งขันกับบริษัทข้ามชาติเหล่านี้ได้ ถ้าแข่งกันภายใต้กติกา เหมือนกันหมดทั่วโลกซึ่ง WTO เป็นผู้กำหนด

นักเศรษฐศาสตร์ที่เชื่อในระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยมก็จะกล่าวว่า นั่น เป็นสิ่งถูกต้องแล้ว

นักวิชาการเหล่านี้เชื่อว่า ทำไมรัฐฯ จึงต้องไปปกป้องคุ้มครองบริษัทคน ไทยที่ไร้ประสิทธิภาพ ซึ่งทำให้คนไทยต้องซื้อของแพง

ทำไมรัฐฯ ต้องไปคุ้มครองผู้ประกอบการหรือเถ้าแก่เพียงไม่กี่รายแต่ ปล่อยให้ผู้บริโภคซึ่งเป็นคนส่วนใหญ่ของประเทศ ถูกเอารัดเอาเปรียบจากการ ดำเนินกิจการที่ไร้ประสิทธิภาพของผู้ประกอบการชาวไทย

ถ้าคิดแบบตะวันตกต่อไป หรือเชื่อในวิธีการของระบบเศรษฐกิจทุนนิยม โลกทั้งโลกจะถูกขับเคลื่อนโดยกติกาที่ชาติตะวันตกเป็นผู้กำหนดหรือเขียนขึ้นมา

ก่อนจะเชื่อทฤษฎีระบบเศรษฐกิจทุนนิยม ที่ยึดถือหลักกลไกตลาดเสรี และการแข่งขัน ควรวิเคราะห์ให้ถ่องแท้เสียก่อนว่า ข้อสมมุติฐานที่ตั้งไว้ถูกต้อง ทั้งหมดหรือไม่

นอกจากนั้น ต้องตั้งคำถามต่อว่าชาติตะวันตกไม่ว่าจะเป็นสหรัฐฯ หรือ กลุ่มอียู ปฏิบัติตามความเชื่อนี้มากน้อยเพียงใด

ถ้าวิเคราะห์ในแง่ของทฤษฎีล้วนๆ การให้กลไกตลาดด้วยระบบการ แข่งขันเป็นเครื่องตัดสินนั้นก็เป็นสิ่งที่ถูกต้อง

แต่การแข่งขันที่กำลังจะเกิดขึ้นด้วยกติกาของ WTO หรืออะไรก็ตามไม่ อาจกล่าวได้ว่าเป็นการแข่งขันที่เป็นธรรม

เพราะบริษัทข้ามชาติของโลกตะวันตก มีความพร้อมที่จะแข่งขัน เหนือกว่า เนื่องจากมีประวัติศาสตร์การพัฒนามายาวนานกว่า หรือเป็นผู้ ครอบครองเทคโนโลยีระบบการผลิตไว้เรียบร้อยแล้ว รวมทั้งมีทุนทรัพย์ การ จัดการ และคุณภาพของบุคลากรเหนือกว่า

ต้องไม่ลืมว่าบริษัทข้ามชาติเหล่านี้ ส่วนใหญ่มีประสบการณ์มานานกว่า ร้อยปี หรือเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ สิทธิบัตรการผลิตหรือการให้บริการ

ขณะที่บริษัทของชาติในเอเชียก็ดี (ยกเว้นญี่ปุ่น) ลาตินอเมริกาก็ดี หรือ อัฟริกา เรียกว่า แทบจะไม่มีประสบการณ์เรื่องการค้าระหว่างประเทศเลย

แม้ว่าชาติในเอเชียตะวันออกจะประสบความสำเร็จอย่างยิ่งยวดในช่วงทศวรร ษที่ 80 และช่วงต้นทศวรรษที่ 90 โดยอาศัยธุรกิจส่งออก (เลียนแบบญี่ปุ่น) ในการสร้างความเจริญมั่งคั่งให้แก่ระบบเศรษฐกิจของตน

บริษัทเหล่านี้ทำหน้าที่เพียงเป็นผู้ขายส่ง หรือเป็นผู้ผลิตภายใต้ “ยี่ห้อ” ของบริษัทข้ามชาติตะวันตก ไม่ได้มีกิจกรรมด้านการตลาดโดยตรงในประเทศซึ่ง ตนส่งสินค้าไปขาย ทำให้ขาดข้อมูลความรู้เกี่ยวกับตลาด ต้องพึ่งพาจมูกผู้อื่นตลอดไป

สิ่งที่บริษัทเอเชียได้คือ ค่าแรงราคาถูก ความรู้เรื่องการจัดการบ้าง และเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำในระยะเริ่มแรกของการดำเนินกิจการ

( ที่มา : ไพศาล สุริยะวงศ์ไพศาล, คิดแบบเอเชีย. 2544.)

คำศัพท์

ค่านิยม

สงครามเศรษฐกิจและวัฒนธรรม

คำอธิบายไวยากรณ์

๑) นั่นเป็นเพราะ..... それは、~という理由である。

(結果の文) + นั่นเป็นเพราะ + (原因の文)」

๒) ไม่เพียงแต่.....เท่านั้น แต่.....(ด้วย) ~だけでなく、~である。

๓) ไม่มากก็น้อย 多少とも。

๔) ปล่อยให้ ~を放任しておく。

๕) กระนั้นหรือ そうであろうか(反語)。

๖) .....ก็จริง แต่..... ~ということも本当だが、しかし~。

文1 + ก็จริง แต่ + 文2

๗) ถึงเวลาแล้วที่..... もう~すべき時である。

๘) พร้อมที่จะ..... ~の状態になりうる。いつでも~の行動ができる。

主語 + (ก็)พร้อมที่จะ + 動詞

๙ ) .....ที่ว่านี้ 上記の。ดังกล่าวと同じ。

๑๐) ไม่ว่าจะเป็น....... รวมถึง..... ~を含んで。

ไม่ว่าจะเป็น A,B,C,D + รวมถึง E