บทที่ ๘
บทคัดย่องานวิจัย

  • หัวข้อเรื่อง สถาบันครอบครัวของกลุ่มชาติพันธุ์ในกรุงเทพมหานคร
  • ระบบครอบครัวญี่ปุ่นกับชุมชนญี่ปุ่นในย่านถนนสุขุมวิท
  • ผู้วิจัย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.บุญยง ชื่นสุวิมล

บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้  มีวัตถุประสงค์เพื่อทำความเข้าใจโครงสร้างครอบครัวญี่ปุ่น ความเป็นมา จำนวนสมาชิก การอบรมสั่งสอน การปฏิบัติตามประเพณีในรอบปี และการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น วิธีการวิจัยเป็นแบบมานุษยวิทยา โดยใช้เครื่องมือ
วิจัยในการเก็บข้อมูลจากการสัมภาษณ์ครอบครัวญี่ปุ่นที่อาศัยอยู่ในย่านถนนสุขุมวิทจำนวน 27 ครัวเรือน จากการศึกษาพบว่า

  • 1. ครอบครัวญี่ปุ่นเป็นครอบครัวเดี่ยวขนาดเล็ก มีบุตรเพียง 1 หรือ 2 คน และยังคงมีลักษณะ Patrilineal descent กล่าวคือ พ่อบ้านยังคงหารายได้เป็นหลัก ส่วนแม่บ้านเป็นผู้ดูแลบ้านและเลี้ยงดูบุตร แต่เมื่อมีเรื่องสำคัญสามีกับภรรยาจะ ตัดสินใจร่วมกัน
  • 2. ความคิดที่จะทำให้บุตรชายสืบทอดกิจการคนเดียวตามระบบครอบครัว อิเอะเดิมนั้นเริ่มคลายตัวลง ครอบครัวญี่ปุ่นในไทยไม่ได้กำหนดผู้สืบทอดที่ชัดเจน
  • 3. การอบรมเลี้ยงดูสมาชิกเมื่อยังเยาว์อยู่นั้น ค่อนข้างเข้มงวดแต่เมื่อ เติบโตขึ้น ค่อนข้างจะให้อิสระทั้งชายและหญิง แต่จะเข้มงวดกับหญิงมากกว่าชาย เล็กน้อย
  • 4. ชุมชนญี่ปุ่นในกรุงเทพฯ มีลักษณะ Heterogeneity ประกอบด้วยคน ญี่ปุ่นที่หลากหลายด้วย ฐานะ ตำแหน่ง สถานะ อายุ ความพอใจ จะไม่มีความสัมพันธ์ ในแนวราบ แต่จะมีความสัมพันธ์ในแนวดิ่ง เมื่อสังกัดกับกลุ่มหรือองค์การที่มีความ สัมพันธ์ภายในกลุ่มค่อนข้างอบอุ่น
  • 5. ผู้ให้สัมภาษณ์ส่วนใหญ่มีการศึกษาระดับมหาวิทยาลัยสำหรับบุตร ก็จะ ให้การศึกษาระดับมหาวิทยาลัยเช่นกัน ไม่มีความแตกต่างระหว่างชายหญิง แสดงให้ เห็นถึงความเท่าเทียมกันระหว่างชายและหญิง
  • 6. การปฏิบัติตามประเพณีญี่ปุ่นในรอบปี เริ่มลดน้อยลงกว่าเมื่อตนเองยัง อยู่กับครอบครัวเดิมในประเทศญี่ปุ่น
  • 7. วัฒนธรรมประเพณีไทยเริ่มเข้ามามีส่วนในวงจรชีวิตของครอบครัวชาว ญี่ปุ่นไม่ว่าในด้านการศึกษา หรือในด้านความเชื่อในด้านการศึกษาครอบครัวญี่ปุ่น ส่งบุตรเข้าเรียนโรงเรียนไทย หรือมีการพาบุตรของตนเข้าวัดไทยทำบุญ เป็นต้น
  • 8. ครอบครัวชาวญี่ปุ่นยังคงติดต่อกับวัฒนธรรมเดิมของตน คือ พ่อแม่ พี่น้อง ไม่ได้ตัดขาดจากวัฒนธรรมเดิม ทำให้ครอบครัวยังคงรักษาเอกลักษณ์ของ ตนเองไว้ได้

ความสำคัญของปัญหา

การติดต่อระหว่างไทยกับญี่ปุ่นมีมานานแล้ว จากเอกสารทางประวัติศาสตร์ “เรคิไดโฮอัน” ทำให้เราได้ทราบว่า ความสัมพันธ์ทางการค้าระหว่างริวกิวกับจีนเกาหลี และบรรดาเมืองในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีมานานแล้ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับอยุธยา ในคริสต์ศตวรรษที่ 15 สินค้าส่งออกในยุคนั้นได้แก่ ไม้ฟาง ผ้าฝ้ายพิมพ์ สุรา น้ำกุหลาบ(ความสัมพันธ์ไทย-ญี่ปุ่น600 ปี, หน้า 7-16) ความสัมพันธ์ดังกล่าวก่อให้ เกิดชุมชนญี่ปุ่นขึ้นในอยุธยาหรือที่เรียกว่า หมู่บ้านญี่ปุ่น ซึ่งถือเป็นชุมชนญี่ปุ่น ที่ปรากฏในหลักฐานทางประวัติศาสตร์

จากความเป็นมาทางประวัติศาสตร์ของทั้งไทยและญี่ปุ่น ที่บางครั้งคล้ายคลึง กัน เช่น การถูกไล่ล่าเป็นอาณานิคม หรือการเปิดประเทศในเวลาไล่เลี่ยกัน บางครั้ง ใกล้ชิดกัน เช่น ปัจจุบันที่ไทยขอความช่วยเหลือทางเศรษฐกิจและบางครั้งก็ห่างเหิน กัน เช่น เมื่อญี่ปุ่นปิดประเทศหรือภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ความไม่สม่ำเสมอใน ความสัมพันธ์ดังกล่าว ทำให้คนไทยรู้จักคนญี่ปุ่นหรือชุมชนญี่ปุ่นน้อยมาก น้อยกว่า จีน อินเดีย หรือฝรั่งที่คนไทยมักคุ้นเคยมาแต่เดิม แต่จากความสำเร็จในการพัฒนา ประเทศของญี่ปุ่น ไม่ว่าจะเป็นก่อนสงครามหรือภายหลังสงครามโลกครั้งที่2 แสดง ให้เห็นถึงศักยภาพในการพัฒนาตนเองของญี่ปุ่น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในทาง อุตสาหกรรมซึ่งแต่ก่อนเคย “ตามฝรั่ง” แต่ปัจจุบัน “ฝรั่งยังต้องศึกษาจากญี่ปุ่น” การ พัฒนาที่ได้ชื่อว่าประสบความสำเร็จดังกล่าว กลายเป็นที่กล่าวขวัญในวงวิชาการว่า อะไรเป็นกุญแจความสำเร็จดังกล่าว นักวิชาการทางสังคมศาสตร์ทั่วโลกต่างก็ พยายามอธิบายให้เหตุผลตามความคิดความเชื่อของตน

ไทยพยายามที่จะเรียนรู้แบบอย่างความสำเร็จในการพัฒนาสังคมของญี่ปุ่น ซึ่งถือเป็นแม่แบบของความสำเร็จของเอเชีย ทั้งในอดีตและปัจจุบัน ด้วยการแลก เปลี่ยนทางการศึกษาหรือในรูปการขอความรู้ ความช่วยเหลือทางวิชาการจากญี่ปุ่น หรือการส่งนักศึกษาไปศึกษายังประเทศญี่ปุ่น เป็นต้น

แต่เมื่อหันกลับมามองภายในสังคมไทยเราเองแล้ว เราย่อมต้องตระหนักว่า ในหมู่ชาวต่างประเทศที่มาอาศัยอยู่ในประเทศไทยเรานั้น มีชาวญี่ปุ่นอาศัยอยู่ด้วย จากสถิติของสำนักงานตำรวจแห่งชาติและสำนักงานตรวจคนเข้าเมืองระหว่างเดือน มกราคม – ธันวาคม พ.ศ. 2542 มีชาวญี่ปุ่นอาศัยในราชอาณาจักร 23,506 คน แสดงให้เห็นว่ามีชาวญี่ปุ่นจำนวนไม่น้อยที่อาศัยในไทย ส่วนหนึ่งเป็นชาวญี่ปุ่นที่ สมัครใจอยู่ประเทศไทย ไม่ว่าด้วยเหตุผลทางครอบครัวหรืออย่างอื่น คนเหล่านี้มี จำนวนไม่น้อยเช่นเดียวกัน หรืออีกนัยหนึ่งอาจกล่าวได้ว่ามี “หมู่บ้านญี่ปุ่น”ใหม่เกิดขึ้น แล้วแทนที่ “หมู่บ้านญี่ปุ่น” ที่อยุธยาที่ได้สูญหายไป

เหมือนดั่งการพยายามหาคำตอบจาก“หมู่บ้านญี่ปุ่นที่อยุธยา” คำถามที่ ต้องการคำตอบก็คือ คนเหล่านี้ทำอะไรในประเทศไทย ( ยกเว้นพนักงานบริษัทที่ บริษัทแม่ในญี่ปุ่นส่งมาประจำเมืองไทย มีระยะเวลาในการทำงานเมื่อครบกำหนดก็ เดินทางกลับ) ดำรงชีวิตอยู่อย่างไร จะให้บุตรเรียนหนังสืออย่างไร ลักษณะครอบครัว เป็นอย่างไร ประเพณีที่ปฏิบัติอยู่ในญี่ปุ่นนั้นในไทยได้ปฏิบัติเหมือนเดิมหรือไม่ คน เหล่านี้ถูกสังคมไทยกลมกลืนไปมากน้อยหรือไม่อย่างไร เป็นต้น คำถามเหล่านี้คือ ที่มาของการทำหัวข้อวิจัยนี้

แทนที่จะต้องไปทำการศึกษาถึงประเทศญี่ปุ่น นักวิชาการไทยเราไม่ได้หันกลับ มามองดูภายในสังคมไทยเราเองว่า ชาวญี่ปุ่นได้หยั่งรากฝังตัวเองลงอย่างเงียบ ๆ มา เป็นเวลานานแล้วนับแต่ก่อนสงครามเป็นต้นมา แม้จะไม่ได้มุ่งประเด็นไปยังการค้นหา คำตอบความสำเร็จของญี่ปุ่นดังกล่าวข้างต้น แต่การศึกษาชุมชนญี่ปุ่นในบริบทของ สังคมไทยคงจะได้ให้คำตอบอะไรบางอย่างแก่สังคมไทย และแม้แต่สังคมญี่ปุ่นและ คนญี่ปุ่นเอง

(ที่มา : ผศ.ดร.บุญยง ชื่นสุวิมล, เอกสารประกอบคำบรรยายโครงการสัมมนาทางวิชาการ เรื่อง สถาบันครอบครัวของกลุ่มชาติพันธุ์ในกรุงเทพมหานคร. 2544.)

คำศัพท์

คำอธิบายไวยากรณ์

๑) ย่าน 区域。地方。町くらいの大きさ。

ย่าน + 地名

๒) ทำความเข้าใจ 理解する。เข้าใจ と同じ意味だが、経過を示すニュアンス。

ทำความเข้าใจ  + 事柄

๓) ความเป็นมา 経緯。来歴。

๔) ในรอบ ~の期間に。

ในรอบ + 年、月、日などの言葉

๕) ครัวเรือน 世帯。統計、経済で使う用語。類別詞。

๖) เป็นหลัก 主に。

動詞 + เป็นหลัก

๗) ร่วมกัน 共に~する。副詞。

動詞 + 目的語 + ร่วมกัน

๘) ไม่ได้..... ~ではなかった。過去の否定。

ไม่ได้ + 動詞

ไม่ได้ + เป็น /อยู่/ทำงาน = 現状の否定を述べる

๙) นั้น 話題の終わりを示す。

名詞句 + นั้น + 動詞

๑๐) ค่อนข้าง (จะ) かなり。大分。主観的評価が入る。

ค่อนข้าง(จะ) + 動詞

๑๑) ประกอบด้วย  ~から成っている。

๑๒) สังกัด 所属する。組織に付属するかをいう場合に用いる。本文はกับと あるが、ない方が自然。ขึ้นอยู่กับ とも使う。

๑๓) .....ก็เช่นเดียวกัน 同じように。เหมือนกัน よりも、やや固い表現。

๑๔) ตาม ~に従って。

動詞 + ตาม + 名詞

๑๕) ไม่ว่า.....หรือ..... ~を問わず。~でも~でも。

ไม่ว่า + A + หรือ + B

๑๖) ไว้ ~しておく。副動詞。

動詞 + ไว้

๑๗) บรรดา いくつかの。全ての。บรรดา の後に ทั้งหมด を入れると確実 に全部の意。ทั้งหมด がない場合は、必ずしも全部ということではない。 本文では、「全て~」という意味ではない。

บรรดา  + 名詞

๑๘) ดังกล่าว 上記の。上述の。固い表現。一般には นั้น を使う。

๑๙) ก่อให้เกิด 始めさせる。固い表現。

๒๐) ทั้ง....และ.... AもBも。

๒๑) มาแต่เดิม 以前から~ずっと。

動詞 + มาแต่เดิม

๒๒) แต่ก่อน 昔。สมัยก่อน と同じ使い方。

แต่ก่อน + 文節

๒๓) เป็นที่กล่าวขวัญ 評判になっている。話題になっている。

๒๔) ด้วย  ~で。方法、手段の前置詞。

動詞 + ด้วย + 道具

๒๕) ในรูป ~の形。固い表現。

動詞 + ในรูป + 名詞

๒๖) ยัง..... ~まで。書き言葉。

(ไป / มา / กลับ) + ยัง + 地名

๒๗) เอง ~自身も。目的語を強める。第二部の第7課๑๔) を参照。 ตัวเอง も同じ意味。主語の場合は、เอง の後に ก็ が入る。

名詞/代名詞 + เอง

๒๘) ย่อม 当然である。自然である。助動詞。

ย่อม + 動詞

๒๙) อีกนัยหนึ่ง つまり。換言すれば。書き言葉で固い表現。

文1 + อีกนัยหนึ่ง + 文2

๓๐) อาจกล่าวได้ว่า ~と言えるかもしれない。書き言葉。

๓๑) นับแต่.....เป็นต้นมา ~の時以降。書き言葉。

นับแต่ + 時間を示す語か、出来事 + เป็นต้นมา

๓๒) แม้..... ~だけれども、逆接の接続詞。

แม้ + 文1 + แต่ + 文2