บทที่ ๗
คู่มือเดินชมเมือง

(๑) สนามหลวง

สนามหลวงมีมาตั้งแต่สมัยเริ่มสร้างกรุงรัตนโกสินทร์ เดิมยังมีพื้นที่ไม่ กว้างขวางเท่าปัจจุบัน จนกระทั่งสมัยรัชกาลที่ ๕ จึงโปรดให้รื้อป้อม ปราการต่าง ๆ และใช้พื้นที่ของวังหน้าบางส่วน เพื่อขยายและตกแต่งบริเวณ ท้องสนามหลวงจนเป็นรูปร่างอย่างทุกวันนี้ นอกจากนั้น ยังทรงโปรดให้ปลูก ต้นมะขามรอบท้องสนามหลวง ซึ่งก็ยังคงมีอยู่จนปัจจุบันด้วย

สนามหลวงเป็นที่โล่งกลางเมืองที่มีกิจกรรมหลาย ๆ ชนิดเกิดขึ้น เช่น เคยใช้เป็นสถานที่ปลูกข้าว ในสมัยรัชกาลที่ ๓ เป็นสถานที่ประกอบพิธีและ สร้างพระเมรุมาศ เวลาถวายพระเพลิงพระบรมศพพระมหากษัตริย์และพระ บรมวงศ์ชั้นสูง เป็นสถานที่ประกอบพระราชพิธีพืชมงคลและงานพระราช พิธีและมหรสพอื่น ๆ เคยใช้เป็นตลาดนัดวันเสาร์-อาทิตย์

นอกจากนี้ สนามหลวงยังช่วยส่งเสริมให้พระบรมมหาราชวังและวัด พระศรีรัตนศาสดาราม มีความสง่างาม สมกับเป็นมรดกอันล้ำค่าของชาติ

画像3

(๒) ถนนข้าวสาร

ถนนข้าวสาร เป็นถนนที่ตัดตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ ๕ ซึ่งเห็นได้จากแผนที่ เก่าที่มีการสำรวจ ในปี พ.ศ. ๒๔๖๔ สองข้างของถนนข้าวสาร โดยเฉพาะ ด้านใกล้กับถนนจักรพงษ์มีเรือนแถว ซึ่งโดยมากเป็นห้องแถวไม้สร้างอยู่แล้ว นับว่าเป็นชุมชนที่มีความเก่าแก่พอสมควร

ปัจจุบัน ถนนข้าวสารเป็นที่รู้จักกันดีในหมู่นักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ เพราะเป็นบริเวณที่มีเกสต์เฮาส์อยู่มากที่สุด ซึ่งทำให้เสมือนเป็นชุมชนชาว ต่างชาติโดยเฉพาะชาวตะวันตกในเขตเกาะรัตนโกสินทร์ในยุคนี้

(๓) ถนนราชดำเนินกลาง

ถนนราชดำเนินมีอยู่ด้วยกัน ๓ ช่วง เชื่อมระหว่างพระบรมมหาราชวัง กับพระราชวังสวนดุสิตซึ่งอยู่ทางเหนือของพระนคร ด้านในจากถนนหน้า พระลานถึงสะพานผ่านพิภพลีลาเรียก“ถนนราชดำเนินใน” ส่วนต่อมาจาก สะพานผ่านพิภพลีลาถึงสะพานผ่านฟ้าลีลาศเรียก “ถนนราชดำเนินกลาง” และจากสะพานผ่านฟ้าลีลาศถึงพระราชวังสวนดุสิตเรียก “ถนนราชดำเนิน นอก”

ถนนราชดำเนินทั้งสามสายสร้างในสมัยรัชกาลที่ ๕ ถนนราชดำเนินกลาง เป็นถนนกว้างขวางมาก เดิมมีต้นมะฮอกกานีปลูกอยู่สองข้างทาง แต่หลังปี พ.ศ.๒๔๘๔ก็ได้มีการตัดต้นมะฮอกกานีทิ้ง ละสร้างอาคารรูปทรงสมัย ใหม่ขึ้น ทำให้ถนนราชดำเนินกลางเปลี่ยนแปลงมาจนเป็นอย่างที่เห็นใน ปัจจุบัน

(๔) อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย

อนุสาวรีย์แห่งนี้สร้างในสมัยรัชกาลที่ ๘ ในปี พ.ศ. ๒๔๘๒ เพื่อเป็น ที่ระลึกถึงการเปลี่ยนแปลงการปกครอง จากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราช มาเป็นระบอบประชาธิปไตย เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๗๕

อนุสาวรีย์ถูกออกแบบ โดยใช้สัญลักษณ์เพื่อระลึกถึงเหตุการณ์การ เปลี่ยนแปลงการปกครอง เช่น ความสูง ๒๔ เมตรของปีกทั้งสี่หมายถึง วันเปลี่ยนแปลงการปกครองคือ ๒๔ มิถุนายน มีปืนใหญ่ ๗๕ กระบอกที่ ฝังปากกระบอกลงดินหมายถึงปีพ.ศ. ๒๔๗๕ และยังมีส่วนประกอบอื่น ๆ ที่เป็นสัญลักษณ์อีกมากมาย

(๕) เสาชิงช้า

เสาชิงช้าเป็นสัญลักษณ์ที่สำคัญของกรุงเทพฯ สร้างเสร็จในปีพ.ศ. ๒๓๒๗ มีความสูง ๒๑.๑๕ เมตร ใช้เป็นสถานที่ประกอบพระราชพิธีโล้ชิงช้า ซึ่งเป็นการขอพรจากเทพเจ้า พิธีโล้ชิงช้าได้มีขึ้นตั้งแต่ พ.ศ. ๒๓๒๗ จนถึง พ.ศ.๒๔๗๖ จึงยกเลิก ส่วนพิธีพราหมณ์อื่น ๆ ยังคงมีต่อที่เทวสถาน โบสถ์พราหมณ์ เสาชิงช้าทำด้วยไม้ มีการซ่อมแซมหลายครั้งในปี พ.ศ. ๒๓๖๑, ๒๔๖๓, ๒๔๗๘ และครั้งหลังสุดเป็นการซ่อมแซมครั้งใหญ่เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๑๕

(๖) ปากคลองตลาด

บริเวณปากคลองตลาด เคยเป็นตลาดน้ำมาก่อนตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ ๑ ในสมัยก่อน คลองคูเมืองเดิม บริเวณที่มาบรรจบกับแม่น้ำเจ้าพระยาด้านใต้ พระนคร เรียกว่า “ปากคลอง ตลาด” แสดงว่า คงมีตลาดซึ่งมีขนาดใหญ่ และสำคัญพอสมควร ปัจจุบันไม่มีตลาดน้ำปรากฏอยู่แล้ว แต่ยังคงสภาพ เป็นตลาดอยู่ซึ่งเป็นตลาดขายส่งดอกไม้ และผลิตผลทางการเกษตรที่ใหญ่ และสำคัญที่สุดของประเทศ

(๗) ศาลเจ้าบ้านหม้อ

ศาลเจ้าบ้านหม้อ เดิมเป็นเพียงศาลพระภูมิเล็กๆ มีมานานกว่า ๑๐๐ ปี แล้ว เป็นที่นับถือของชาวจีน เชื่อกันว่ามีความศักดิ์สิทธิ์ในทุก ๆ ด้าน ผู้ใด ให้ความเคารพนับถือกราบไหว้อธิษฐานประสงค์สิ่งใด ก็มักจะสมปรารถนา

(๘) ศาลาเฉลิมกรุง

โรงภาพยนตร์ศาลาเฉลิมกรุงนี้ รัชกาลที่ ๗ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ หม่อมเจ้าสมัยเฉลิม กฤดากร ออกแบบและควบคุมการก่อสร้าง  เพื่อ การฉายภาพยนตร์ และแสดงละครให้เป็นอนุสรณ์ในการเฉลิมฉลองพระนคร ครบ๑๕๐ปี ในปีพ.ศ. ๒๔๗๕ ในสมัยนั้นศาลาเฉลิมกรุงเป็นโรงภาพยนตร์ ที่ทันสมัยที่สุดในภาคพื้นเอเชียตะวันออก เพราะมีเครื่องปรับอากาศเป็น แห่งแรก ศาลาเฉลิมกรุงสร้างเสร็จและเปิดแสดงได้ในคืนวันที่ ๒ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๗๖ และได้ใช้เป็นโรงภาพยนตร์ในเวลาต่อมา

เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๑๑ ได้มี การปรับปรุงครั้งใหญ่ และเมื่อเร็ว ๆ นี้ศาลาเฉลิมกรุงได้งดฉายภาพยนตร์ และปรับปรุงอีกครั้งหนึ่ง เพื่อใช้เป็นโรงละครและฉายภาพยนตร์ในบางครั้ง

(๙) ตึกยาว โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย

โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย มีต้นกำเนิดมาจากโรงเรียนมหาดเล็กหลวง ที่จัดตั้งโดยสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ และรัชกาลที่ ๕ ทรงเป็นองค์ อุปถัมภ์ โรงเรียนนี้อยู่ที่พระตำหนักสวนกุหลาบภายในพระบรมมหาราชวัง เมื่อปีพ.ศ.๒๔๒๔ และในปี พ.ศ. ๒๔๓๐ ก็ได้ย้ายออกไปเป็นโรงเรียน พลเรือนในพื้นที่ปัจจุบัน

อาคารตึกยาว สร้างในสมัยรัชกาลที่ ๕ ในปี พ.ศ. ๒๔๕๓ เดิมตึกนี้ วัดราชบูรณะซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินจะสร้างตึกแถวเพื่อเก็บค่าเช่า แต่กระทรวง ธรรมการ (กระทรวงศึกษาธิการ) ได้ทูลขอพระราชทานสร้างเป็นอาคารเรียน แทน โดยมีตึกยาวขนานไปตามถนน มีเฉลียงทางเดินอยู่ด้านหลัง ส่วน ด้านหน้าเป็นหน้าต่าง และมีลักษณะสถาปัตยกรรมแบบยุโรป เป็นอาคาร ที่นอกจากจะเป็นสัญลักษณ์ของโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัยแล้ว ยังเป็น สัญลักษณ์ของการศึกษาแผนใหม่ของประเทศไทย ที่ได้ริเริ่มในสมัยรัชกาล ที่ ๕ อีกด้วย

(๑๐) สะพานปฐมบรมราชานุสรณ์ และพระอนุสาวรีย์รัชกาลที่ ๑

สะพานพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก หรือสะพานปฐมบรมราชานุสรณ์ หรือ ที่มักเรียกกันว่า “สะพานพุทธ” นั้น สร้างเสร็จในปี พ.ศ. ๒๔๗๕ ในสมัย รัชกาลที่ ๗ เชื่อมฝั่งพระนครและฝั่งธนบุรีเข้าด้วยกัน สะพานนี้สร้างขึ้น ในคราวเฉลิมฉลองกรุงรัตนโกสินทร์ ๑๕๐ ปี เพื่อเป็นอนุสรณ์แด่พระ มหากษัตริย์องค์ผู้สร้างกรุงรัตนโกสินทร์ คือ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้า จุฬาโลกมหาราช สะพานนี้มิใช่สะพานแห่งแรกที่สร้างข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา เพราะสะพานแรกที่ข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาคือ สะพานพระราม ๖ เป็นสะพาน รถไฟ เริ่มสร้างเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๖๕

ที่บริเวณเชิงสะพานพุทธ เป็นที่ประดิษฐานพระบรมราชานุสาวรีย์ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก อนุสาวรีย์นี้สร้างขึ้นในคราว เดียวกับสะพานพุทธ ผู้ออกแบบและอำนวยการสร้างคือ สมเด็จพระเจ้า บรมวงศ์เธอเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัติวงศ์ โดยมีผู้ปั้นพระบรมรูป คือ ศาสตราจารย์ ศิลป์ พีระศรี

(ที่มา : ดร.ยงธนิศร์ พิมลเสถียร, คู่มือเดินชมเมือง ชุด เกาะรัตนโกสินทร์. 2540.)

คำศัพท์

สนามหลวง

ถนนข้าวสาร

อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย

เสาชิงช้า

ปากคลองตลาด

ศาลาเฉลิมกรุง

สะพานปฐมบรมราชานุสรณ์ และพระอนุสาวรีย์รัชกาลที่ ๑

คำอธิบายไวยากรณ์

๑) ตั้งแต่ ~から。 ~以来。

๒) เดิม 以前。สมัยก่อน と意味は同じ。

เดิม + 文節

๓) จนกระทั่ง ~まで。~の時に至る。

文 + จนกระทั่ง + 時点

จนกระทั่ง + 時点 + 文

๔) โปรดให้ (王族・貴族の人が)~を命じられた。王族語。

王族 + โปรดให้ + 人 + 動詞

๕) เพื่อ  ~のために。

เพื่อ + 動詞

๖) จน (~の状態に)なるまでに。~なほど。

動詞 + จน + 修飾語

文節 + จน + 修飾文節

๗) อย่างทุกวันนี้ 今日のように。意味は、เหมือนกับทุกวันนี้ と同じ。

อย่าง + 名詞

๘) นอกจากนั้น ยัง...อีกด้วย その上に~もある。

文節1 + นอกจากนั้น + 主語 + ยัง + 動詞 + อีกด้วย

๙) ยังคง...อยู่   以前から今まで、ずっと~している。

ยังคง + 動詞 + อยู่

๑๐) ใช้เป็น... ~として使用する。

๑๑) สมกับเป็น.... ~としてふさわしい。

動詞 + สมกับเป็น + 名詞

๑๒) เห็นได้จาก ~から、理解できる。

文節1 + เห็นได้จาก + 文節

๑๓) โดยเฉพาะ 特に。

โดยเฉพาะ + 名詞

๑๔) โดยมาก 大部分。副詞。意味は、ส่วนใหญ่ と同じ。

主語 + โดยมาก + 動詞

๑๕) นับว่า ~とみなされる。~と思われる。

นับว่า + 文

๑๖) เป็นที่....ของ..... 受身の意味を持つ。

主語 + เป็นที่ + 動詞 + ของ + 数量的に多い人々

๑๗) เสมือน ~のような。文学的表現。書き言葉。เหมือน は、普通語。

๑๘) ระหว่าง.....กับ / และ..... AとBの間に。

๑๙) จาก....จนถึง... Aから Bへ。距離、時間、場所で使われる。

จาก + A + จนถึง + B

๒๐) ตั้งแต่...จนถึง...... AからBまで。จาก...จนถึง....との違いはなし。

ตั้งแต่ + 時間・場所 + (จน)ถึง + 時間・場所

๒๑) ถูก.... ~される。受身。

被行為者 + ถูก  + 行為者 + 動詞

๒๒) เสร็จ ~し終えた。副動詞。自動詞、他動詞の後につける。

動詞 + 目的語 + เสร็จ

๒๓) ....ต่อ ~し続ける。

動詞 + 目的語 + ต่อ

๒๔) ใน ~(の時間)に。~時の場合には使わない。語調により省略される。

๒๕) เมื่อ 過去にしか使えず。ใน は、過去、現在、未来にも使える。

เมื่อ + 過去のことを示す名詞

๒๖) ครั้งหลังสุด 最後。現時点からみて、一番最後。

文1 + ครั้งหลังสุด + 文2

๒๗) เคย....มาก่อน かつて、~したことがある

๒๘) คงจะ きっと~だろう。過去、現在、未来全てに使える。

คง(จะ) + 動詞

๒๙) ไม่มี....ปรากฏอยู่ ~がみられない。存在していない。

ไม่มี + 名詞 + ปรากฏอยู่

๓๐) เชื่อกันว่า....(一般の人は)~と信じている。一般に~と信じられている。

เชื่อกันว่า + 文節

๓๑) มักจะ 頻繁に行なう。~の傾向がある。

มักจะ + 動詞

๓๒) โดย ~によって。タイ語では余り使わない。

動詞 + โดย + 行為者

๓๓) โดย 情報をつけ加える接続詞。

โดย  + 文節

๓๔) ในคราว ~の時に。過去の時を示す。

๓๕) แด่   誰に~を差し上げる。謙譲表現。普通語では、แก่ を使う。

แด่ + 受け取る人

๓๖) มิ ~ではない。否定語。ไม่の固い表現。

มิ  + 動詞